เชื่อมโยงความเข้าใจสู่ “ระบบนิเวศทางธรรมชาติ” ด้วย “สถาปัตยกรรม”
.
พื้นที่อนุรักษ์ทางธรรมชาติ “เขตสงวนธรรมชาติ Graswarder Heiligenhafen” ในประเทศเยอรมนี เป็นพื้นที่คาบสมุทร ลุ่มน้ำหนอง หาดทราย ที่มีตะกอนกองสะสมกันจึงเกิดเป็นแหล่งอาหาร และพื้นที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำในระบบนิเวศหาดทราย ซึ่งเป็นแหล่งอาหารของเหล่านกในพื้นที่เหล่านี้ไปโดยปริยาย
.
ด้วยความหลากหลายทางชีวะภาพในพื้นที่ Graswarder จึงเป็นเหมือนพื้นที่ศึกษาธรรมชาติที่นักดูนกต่างมาเก็บภาพนกหลากหลายสายพันธุ์ในพื้นที่นี้ แต่การเข้าถึงพื้นที่ และสร้างให้เห็นถึงภาพรวมของความสำคัญนั้นยังเป็นเรื่องที่เข้าใจได้ไม่ง่ายนักสำหรับบุคคลทั่วไป และนักท่องเที่ยว
.
ในปี 2005 “gmp Architekten” บริษัทสถาปัตยกรรมในประเทศเยอรมนี จึงได้รับมอบหมายให้ออกแบบสถาปัตยกรรมที่จะขยายขอบเขตการรับรู้ให้กับพื้นที่สู่บุคคลในหมู่มากที่ตั้งใจมาเยือนพื้นที่แห่งนี้ได้โดยง่าย
.
หอดูนกความสูง 15 เมตร สร้างขึ้นบนพื้นที่ติดทะเลบอลติคข้างกับรีสอร์ตในพื้นที่ ออกแบบด้วยโครงสร้างไม้สนไซบีเรียนลาร์ช ซึ่งเป็นไม้ในพื้นที่ โดดเด่นด้วยโครงสร้างคานเฉียงที่ไม่เพียงแต่ช่วยให้ลักษณะยื่นสูงของอาคารมีความมั่นคง แต่ยังสร้างลักษณะของ “จุดหมายตา” ในการเป็นพื้นที่ “ส่องนก และชมวิว” ให้กับอาคารอีกด้วย
.
เพียงหนึ่งอาคารที่คิดวิเคราะห์ถึงความสอดคล้องในการส่งเสริมคุณค่าในพื้นมาอย่างถี่ถ้วน ก็ช่วยยกระดับของการสร้างความเข้าใจต่อทรัพยากรธรรมชาติได้อย่างมากมายแล้ว สิบปากว่าไม่เท่าตาเห็น เราเชื่อเหลือเกินว่า การได้ขึ้นไปยืนมองความยิ่งใหญ่ของธรรมชาติจากหอชมวิวนี้ จะสามารถสร้างความตระหนักต่อคุณค่าในทรัพยากรมากกว่าการบรรยายผ่านตัวหนังสือได้หลายเท่านัก
.
ภาพ: Marcus Bredt
เรื่อง: Wuthikorn Sut
.
ที่มา: roomBooks